วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุค AEC






ในปี พ.ศ. 2558 การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (Asesn Economic Community)  ส่งผลกระทบทบต่อการจัดการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงผลกระทบของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในแผนระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2551 -2565) ให้ความสำคัญปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อการจัดการศึกษาอุดมศึกษา ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนย้ายกำลังคน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปสะดวกขึ้น และการเปิดเสรีการค้า บริการ ส่วนด้านการศึกษาจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้  ภาษา และวัฒนธรรมระหว่างกัน


สำหรับรัฐบาลปััจจุบันได้ประกาศนโยบายด้านการศึกษา  โดยส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค และมีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษา
• การเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยตั้งแตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไมสามารถพัฒนานักเรียนใหมีพื้นความรูความสามารถในการใชภาษาไดในระดับสากลและระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่มีระดับความขมขนของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษน้อยเกินไป 
สถาบันอุดมศึกษา บุคลากรและนักศึกษาขาดความรูความเขาใจเกี่ยวกับอาเซียนและการรวมตัวเปนประชาคมอาเซียน นอกจากนี้การเรียนการสอนดานอาเซียนศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยยังมีอยู่ในวงจำกัด
สถาบันอุดมศึกษาไทยไมสามารถผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความตองการของภาคการผลิตและบริการ 
สถาบันอุดมศึกษาสวนใหญขาดความรูความสนใจในเรื่องการเปดเสรีการคาบริการ ทําใหขาดการ
เตรียมความพรอมในการรองรับการเปดเสรีการคาบริการดานการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษายังใชประโยชนนอยจากหนวยงานระหวางประเทศดานการศึกษาในระดับภูมิภาคที่มีที่ตั้งอยูในประเทศไทย และขาดความสนใจที่จะเคลื่อนย้ายภายในอาเซียน 
สถาบันอุดมศึกษาสวนใหญยังเนนการเรียนการสอนมากกวาการวิจัยและพัฒนา
สัดสวนของอาจารยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกต่ำกวาแผนที่กําหนดไวและสัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการต่ำ
 สถาบันอุดมศึกษาไทยขาดการทำงานร่วมกันโดยเฉพาะอยางยิ่งการสรางเครือข่ายระหว่างสถาบันภายในประเทศเนื่องจากขาดเป้าหมายการพัฒนาร่วมที่ชัดเจน 
การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษามีคุณภาพไม่เทาเทียมกัน
ประเทศไทยขาดความรูความเขาใจเชิงลึกเกี่ยวกับระบบการศึกษา และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใหบริการการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

ผลกระทบที่ส่งผลต่อนิสิต
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นการเปิดโลกกว้างขึ้นในการทำงานที่สามารถทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ง่ายขึ้น การได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆโดยเฉพาะเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์กับประเทศเรา แต่ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นคือ  ตลาดแรงงานมีโอกาสเลือกผู้เข้ามาทำงานมากขึ้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาว่างงานที่มีความเป็นไปได้สูง ซึ่งควรตระหนักถึงความสำคัญในด้านภาษา ที่นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ต้องสื่อสารภาษาอังกฤษให้ได้ดีด้วย ซึ่งอยู่ที่การเตรียมความพร้อมของนิสิตเองที่ต้องพัฒนาศักยภาพในทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ดังนั้นการที่เราจะพร้อมก้าวสู่ประตูอาเซียน เราก็ควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมความเป็นอยู่  ภาษา  การศึกษา และเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ(อาเซียน)เพื่อที่จะปรับตัวและเข้าใจในวัฒนธรรมนั้น ๆ